วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ไม่ได้ยินไม่ได้เห็นกับตาจะไม่รู้ว่าอเมริกาเล่นงานเผด็จการคสช.จริงแค่ใหนอย่างไร?

ต่อการที่คสช.ละเมิดหลักกฎหมายและข้อตกลงกับสหประชาชาติเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีรูปธรรมชัดเจนเช่นคนจับกุมคุมขังปรับทัศนะคตินักการเมือง,นักหนังสือพิมพ์,ครูอาจารย์นักศึกษาจนถึงชาวบ้านอย่างแม่จ่านิว,ถึงขนาดรมว.ต่างประเทศของระบอบ คสช.ยืนไม่ติดต้องแย่งไมโครโฟนฑูตอเมริกาชี้แจงตัดบทหลายรอบ: ต้องดูจึงจะรู้สถาณการณ์



เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 12 พฤษภาคม ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับนายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย โดยหลังการหารือราว 1.30 ชั่วโมง ทั้งคู่ได้แถลงข่าวร่วมกัน นายดอนได้เปิดโอกาสให้นายเดวีส์ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามของสื่อมวลชนก่อน ในช่วงต้นเดวีส์ได้พูดถึงประเด็นที่มีการหารือกับนายดอนคือเรื่องทะเลจีนใต้ และเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย พร้อมกับขอบคุณนายดอนที่ได้มีการพูดคุยหารือกันอย่างตรงไปตรงมา

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องที่เอเอฟพีได้เสนอข่าวว่าสหรัฐได้ประณามเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในไทยว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ เดวีส์กล่าวว่าสหรัฐห่วงกังวลอย่างยิ่งกับสิ่งที่เกิดขึ้น และย้ำจุดยืนที่ได้พูดไปโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแล้วว่าสหรัฐห่วง กังวลกับการจับกุมนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและเห็นว่าควรต้องมีการเปิดพื้นที่ทางการเมือง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นขัดต่อพันธกรณีของไทยตามหลักสากล

ผู้สื่อข่าวถามว่าความสัมพันธ์สหรัฐ-ไทยหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร นายเดวีส์กล่าวว่า ความสัมพันธ์สองประเทศยังแข็งแกร่ง เพราะไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ของสหรัฐและยังมีความร่วมมือระหว่างกันในหลายมิติ

หลังนายเดวีส์ให้สัมภาษณ์เช่นนั้น นายดอนได้เรียกเอกสารจากเจ้าหน้าที่มาดูก่อนที่จะสอบถามนายเดวีส์อีกครั้ง ซึ่งเดวีส์ยืนยันว่า แคทรีนา อดัมส์ คือโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งขัดกับการชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศไทยก่อนหน้านี้ จากนั้นนายเดวีส์ได้หยิบเอกสารขึ้นมาอ่านต่อหน้าสื่อมวลชนและให้เจ้าหน้าที่ สถานทูตสหรัฐแปลให้สื่อมวลชนฟังเป็นภาษาไทยว่า สหรัฐรู้สึกไม่สบายใจกับเหตุการณ์จับกุมเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโพสต์ข้อความออนไลน์ รวมถึงการจับกุมมารดาของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งขัดแย้งกับพันธกิจของไทยต่อนานาชาติ ซึ่งไม่เป็นการเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและสร้างบรรยากาศของการข่มขู่ และทำให้เกิดการเซนเซอร์ตัวเอง

นายเดวีส์กล่าวต่อว่า การข่มขู่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและครอบครัว ทำให้เกิดความวิตกกังวลและห่วงใยอย่างยิ่งต่อพันธกรณีของไทยที่ต้องเคารพ เสรีภาพในการแสดงความเห็น สหรัฐยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น การจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การจำกัดสิทธิในการแสดงความเห็น สิทธิในการชุมนุม รวมถึงการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร

“สหรัฐเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยินยอมให้มีพูดคุยกันอย่างเปิดเผย และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในอนาคตทางการเมืองของประเทศ ซึ่งรวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติในเดือนสิงหาคม เราขอเรียกร้องและกระตุ้นให้ไทยยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ เหลานี้”    เดวีส์กล่าว และว่านี่คือจุดยืนและท่าทีของสหรัฐในขณะนี้ พร้อมกับขอบคุณรัฐบาลไทยอีกครั้งที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่อง ต่างๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิมนุษยชนในไทย ทั้งยังขอบคุณสื่อมวลชนที่ทำงานเพื่อประชาชนและย้ำว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการสื่อความจริงให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งสหรัฐให้ความเคารพกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

หลังนายเดวีส์อ่านเอกสารที่เตรียมมาจบ นายดอนได้ย้ำว่า นายเดวีส์ไม่ได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพูดคุยกับตนระหว่างการหารือกัน แต่อย่างใด นายเดวีส์จึงพูดอีกครั้งว่า ยืนยันว่าตนไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นพูดกับนายดอน แต่พูดกับสื่อเพื่อแสดงจุดยืนของรัฐบาลสหรัฐ ขณะที่ในการหารือกับนายดอนก็ได้พูดคุยกันในหลายเรื่องรวมถึงเรื่องสิทธิพลเมือง และรับว่าสหรัฐไม่ได้ใช้คำว่าประณามไทย

นายดอนให้สัมภาษณ์อีก ครั้งหลังส่งนายเดวีส์และคณะแล้วว่า สิ่งที่เดวีส์ย้ำเป็นการแสดงความห่วงใยแต่ไม่มีการประณามไทยตามที่เป็นข่าว แต่อย่างใด ระหว่างการหารือไม่มีการพูดถึงประเด็นเหลานี้ ตรงกันข้ามสหรัฐเป็นฝ่ายรับฟังด้วยซ้ำว่าเรื่องที่เป็นประเด็นในขณะนี้คือ อะไรบ้าง ซึ่งตนก็ได้พูดถึงเรื่องการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยต่อคณะทำงานยู พีอาร์ที่เจนีวา ซึ่งก็มีเสียงชื่นชมไทยในหลายประเด็น

นายดอนกล่าวต่อว่า ในเรื่องสิทธิพลเมืองก็พูดให้สหรัฐฟังว่าไทยก็เหมือนสหรัฐที่เมื่อมีเรื่อง ที่สร้างความวุ่นวายในสังคมก็ต้องหารทางไม่ให้เกิดความปั่นป่วน สังคมก็ต้องหาทางดูแลปัญหาเหลานั้นเช่นกัน ที่ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพูดเพราะเป็นที่เข้าใจว่าทุกประเทศก็มีปัญหาเหลานี้ เช่นกัน ขณะที่ในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั้งที่สหรัฐและอังกฤษเพิ่งเผยแพร่ออก มา ประเทศไทยก็ไม่ได้เป็นเป้า ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่มีปัญหา ถ้าจะมีก็เหมือนประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นเป้าเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับสหรัฐอีกครั้งหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าไทยและสหรัฐจะเข้าใจเรื่องไม่ตรงกัน นายดอนกล่าวว่า คงมีโอกาสพบกันอีกแต่จะพูดคุยเรื่องเดิมคงใช่ที่ แต่อย่าถือเป็นเรื่องใหญ่โต มันเป็นเรื่องการเลือกใช้คำของสื่อแล้วคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจ เจตนาก็เอาไปใช้ต่อ

เมื่อถามว่าแสดงว่าสหรัฐไม่เข้าใจกระบวนการจัดการ ภายในของไทยหรือ นายดอนกล่าวว่า เข้าใจไม่เข้าใจคงต้องเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะเราพูดกันมาพอควร และสหรัฐก็รู้ว่ามันเป็นปัญหาในหลักการอันหนึ่งเช่นเดียวกับบ้านเมืองเขา ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าการเดินทางมาหารือกันครั้ง นี้เป็นการเรียกทูตสหรัฐมาพบหรือสหรัฐขอพบ นายดอนกล่าวว่า สหรัฐขอพบมานานแล้วแต่เพิ่งมีเวลาว่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น